วันพุธ, มกราคม ๐๒, ๒๕๕๑

บทที่6-8

บทที่ 6 Domain Name System (DNS)
ในระบบ Internet นั้นจะมีการกำหนดตำแหน่งของเครื่องอยู่สองแบบคือ การใช้ IP address และการใช้ domain name ซึ่ง domain name นี้นอกจากจะทำให้จำชื่อเครื่องได้ง่ายแล้ว ยังช่วยบอกว่าเครื่องนั้นน่าจะมีข้อมูลเกี่ยวกับอะไรเก็บไว้ เช่น www.cnn.com ก็น่าจะเป็นเครื่องที่เก็บ Web Page ของ สำนักข่าว CNN หรือว่า www.cmu.ac.th ก็น่าจะเป็นเครื่องที่เก็บ Web Page ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นต้น ซึ่งเครื่องที่ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ domain name ก็จะเรียกว่า domain name server (DNS) ซึ่ง DNS จะทำงานสองอย่าง คือ เป็นผู้เก็บข้อมูลของ domain name หนึ่ง ๆ โดยจะเก็บไว้ใน domain name database file และ งานอย่างที่สองคือ การให้บริการแก่เครื่องผู้ใช้ทั่วไปในการแปลง domain name เป็น IP Address โดย เมื่อได้รับ request นี้มา DNS จะทำการตรวจสอบว่า domain name database ที่มีอยู่ มี information เกี่ยวกับชื่อที่ขอมาหรือไม่ ถ้าไม่มี ก็จะถาม DNS ตัวอื่น ตามที่กำหนดไว้ต่อไปให้ ซึ่งลักษณะการเก็บแบบนี้จะเรียกว่า Hierachical Domain Name System โดยทั่วไปเราจะแบ่งชนิดของ DNS ได้ 4 แบบ คือ 1. Caching only DNS ถือว่าเป็น DNS แบบพื้นฐานที่สุด กล่าวคือ จะไม่มี Domain Name Database เก็บไว้ในตัวเอง จึงไม่สามารถให้บริการได้โดยตรง แต่เมื่อมี Request เข้ามา มันจะไปถาม DNS ตัวที่อยู่สูงขึ้นไป แล้วเมื่อได้รับคำตอบแล้ว ก็จะ ตอบกับไปยังเครื่องที่ขอมา และจะเก็บไว้ใน cache ของตัวมันเอง เพื่อให้บริการแก้ผู้ที่มาขอข้อมูลเดียวกัน โดยไม่ต้องไปถาม DNS ตัวที่อยู่สูงขึ้นไปอีก เนื่องจากว่าตัว Cache นี้ถูกจัดเก็บไว้ใน Memory ดังนั้น เมื่อทำการปิดเปิดเครื่องใหม่ ข้อมูลใน Cache ก็จะหายไปด้วย ทำให้ต้องเริ่มเก็บข้อมูลใหม่ 2. Primary DNS เป็น DNS ที่จะเก็บข้อมูลของ domain name หนึ่ง ๆ ไว้ เพื่อที่จะให้บริการแก่ DNS ตัวอื่น ในการร้องขอข้อมูลเกี่ยวกับ domain name นั้น โดย DNS จะมีระบบในการชี้แบบ Hierachy หรือว่าแบบ tree เช่น ถายใต้ .th ก็จะมี co.th ac.th or.th และภายใต้ ac.th ก็จะมี cmu.ac.th ku.ac.th เป็นต้น 3. Secondary DNS เป็น DNS ที่จะอ่านข้อมูลมาจาก Primary DNS มาเก็บไว้ เพื่อเป็นเครื่องสำรองในกรณีที่ Primary DNS ไม่สามารถทำงานตามปกติได้ โดยปกติ การจดทะเบียน domain name นั้น จะต้องมี Primary DNS หนึ่งตัว และ Secondary DNS อย่างน้อยหนึ่งตัว 4. Forwarder DNS เป็น DNS ที่คอย forward คำร้องขอ ไปยัง DNS ตัวอื่น มักจะใช้ในระบบที่มี Firewall หรือว่า Private Network ในการตั้ง DNS นั้น ก็ต้องพิจารณาตามความต้องการ ถ้าความต้องการที่มีอยู่ ต้องการเพียงการแปลง domain name ไปเป็น IP Address ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตั้ง DNS ขึ้นมา เพียงแต่ set เครื่องให้ชี้ ไปยัง DNS ตัวที่อยู๋ใกล้ที่สุด แต่ถ้าต้องการมี domain name ของตัวเอง ก็ต้องมีการตั้ง Primary DNS ขึ้นมา และหา Secondary DNS ซึ่ง ก็มักจะเป็น DNS ตัวที่อยู๋ใกล้ ๆ หรือว่า DNS ตัวที่อยู่สูงขึ้นไปเป็นต้น

บทที่ 7 อีเมล์ และโปรโตคอลของอีเมล์
ถ้าจะติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย จะต้องใช้โปรโตคอล TCP/IP
TCP เพื่อแยกข้อมูลออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า Package
IC เพื่อระบุหมายเลขประจำเครื่องปลายที่จะรับ หรือส่งข้อมูลไปถึง
เนื่องจากบริการรับ-ส่ง E-mail ผู้ใช้มีความต้องการที่หลากหลาย แตกต่างกัน รูปแบบการทำงานของบริการรับ-ส่ง E-mail ซึ่งเป็น ข้อกำหนดหรือโปรโตคอล ของการรับ-ส่ง Email จึงมีเพิ่มขึ้น ดังนี้
1. การรับส่ง E-mail ผู้ใช้จะระบุผู้รับปลายทางด้วย E-mail Address @ (ระบบจะเปลี่ยน domain name เป็น IP address ก่อนส่ง)
2. การรับ-ส่งไฟล์ที่เป็น E-mail ระบบจะทำการรับ-ส่งกันเป็นทอดๆ จาก domain หนึ่งไปอีก domain หนึ่ง ต่อๆ กันไป (ใช้โปรโตคอล SMTP)
3. ผู้ใช้อาจต้องการใช้โปรแกรม Web browser เปิดอ่านเมล์โดยตรง (Webmail)
4. ผู้ใช้อาจต้องการใช้โปรแกรม Microsoft Outlook, Outlook Express
เปิดเมล์แล้ว ต้องการให้เมล์ยังคงอยู่ใน Mailbox ที่ Webmail (ใช้โปรโตคอล IMAP4)
เปิดเมล์แล้ว ต้องการนำเมล์ (move) ไปเก็บในคอมพิวเตอร์ของตนเอง (POP3)
E-mail ที่ส่งไปยังผู้รับในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใช้วิธีการรับ-ส่งกันเป็นทอดๆ ซึ่งเป็นข้อกำหนดของโปรโตคอล SMTP ที่จะส่ง E-mail ผ่านเครื่อง Mail Server จำนวนมากที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
E-mail จะถูกส่งไปจนถึงเครื่องตามที่ระบุไว้ใน domain name (ส่วนที่สามของ email address)
ก่อนกระบวนการส่ง
domain name จะถูกแปลงเป็น IP เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านของคอมพิวเตอร์
E-mail จะถูกแบ่งออกเป็น Package ตามเงื่อนไขของโปรโตคอล TCP
รูปแบบของการเปิดอ่าน E-mail ที่ส่งมาถึง Mail Server (ตาม domain name ที่ระบุไว้ใน Email Address) ขึ้นอยู่กับการบริการของ Mail Server ที่มีหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันมี 3 รูปแบบ
แบบ Webmail
แบบ POP3
แบบ IMAP4
………………………………………………….
แบบ Webmail
ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม Web browser
เปิดอ่าน E-mail ได้โดยตรง
รับ-ส่ง E-mail ได้
มีพื้นที่เก็บ E-mail ใน Mailbox
ข้อควรระวังในการใช้ Webmail
ถ้า Mail Server เสียหาย E-mail ใน Mailbox ย่อมต้องเสียหายด้วย
Mailbox มีขนาดของพื้นที่ ต้องระมัดระวังเรื่องพื้นที่ของ Mailbox ถูกใช้งานจนเต็มพื้นที่ จะทำให้รับส่ง E-mail ไม่ได้

แบบ POP3 (Post Office Protocol version 3)
ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม Microsoft Outlook (ติดตั้งพร้อมชุด Microsoft Office แสดงเมนูเป็นภาษาไทย) , Outlook Express (ติดตั้งพร้อมระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ไม่มีเมนูเป็นภาษาไทย)
POP3 เป็นโปรโตคอลอีกรูปแบบหนึ่ง
โปรแกรม Microsoft Outlook, Outlook Express ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
จะติดต่อไปยัง Mail Server ที่ผู้ใช้ระบุ
จะ Download E-mail ในลักษณะของการ Move E-mail จาก Mail Server มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ดังนั้น E-mail จะไม่ถูกเก็บที่ Mail Server
ข้อควรคิดในการใช้แบบ POP3
Mail จะถูก Download มาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นถ้าผู้ใช้ติดต่อเข้าไปยัง Mail Server โดยใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น จะเห็นเฉพาะ Mail ฉบับใหม่
Address Book ที่สร้างขึ้นจะเป็นการสร้างขึ้นในโปรแกรม Microsoft Outlook, Outlook Express (ซึ่งอยู่ในเครื่อง PC ที่ติดต่อ) ไม่ได้สร้างขึ้นที่ Mail Server
จะได้พื้นที่ของ Mailbox แบบไม่จำกัด เนื่องจากโปรแกรม Microsoft Outlook, Outlook Express จะใช้พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ในเครื่อง PC
แบบ IMAP4 (Internet Message Access Protocol 4)
ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม Microsoft Outlook, Outlook Express
IMAP4 เป็นโปรโตคอลอีกรูปแบบหนึ่ง
โปรแกรม Microsoft Outlook, Outlook Express ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
จะติดต่อไปยัง Mail Server ที่ผู้ใช้ระบุ
จะอ่าน E-mail ในลักษณะของการ Copy E-mail โดยไม่ได้ Download มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ดังนั้น E-mail จะยังคงอยู่เก็บอยู่ที่ Mail Server
ข้อควรคิดในการใช้แบบ IMAP4
Mail จะไม่ได้ถูก Download มาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นถ้ามีการติดต่อเข้าไปยัง Mail Server โดยใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น จะเห็น Mail ฉบับเดิม
Mailbox ที่เห็นในโปรแกรม Microsoft Outlook, Outlook Express จะมีพื้นที่จำกัดตามที่ Mail Server กำหนดไว้

บทที่ 8 การรับส่งไฟล์และระบบไฟล์FTP เป็นเครื่องมีในการโอนไฟล์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด โดยมีคุณสมบัติสามารถโหลดไฟล์มาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ได้ แต่ในการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้มักจะใช้เพื่อการโหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์เสียเป็นส่วนใหญ่วิธีการทำงานของ FTP จะทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องทางการสื่อสาร ก่อนทำงานสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อต่อก่อน ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ ข้อมูล และข้อมูลที่เป็นคำสั่งวิธีการรับส่ง FTP กำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลได้ดังนี้- Stream Mode เป็นวิธีการที่จะรับส่งข้อมูลเรียงลำดับไบต์ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ- Block Mode เป็นโหมดการรับส่งข้อมูลที่เป็นบล็อก- Compressed Mode เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลTFTP เป็นกระบวนการรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไป โดยใช้กลไกการสื่อสารแบบ UDP ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ทำงานแบบ Connectionless ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัสหรือ Password แต่จะทำได้เพียงโอนข้อมูลที่จัดเตรียมไว้แล้วเท่านั้น แต่จะไม่มีฟังก์ชั่นอื่นๆConnectionless และ Connection-OrientedConnectionless เป็นการส่งข้อมูลโดยไม่สนใจว่าผู้รับปลายทางจะได้รับข้อมูลหรือไม่ เปรียบได้กับการส่งไปรษณีย์แบบธรรมดาConnection-Oriented เป็นการสื่อสารที่มีกลไกที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่าผู้รับได้รับข้อมูลต่างๆหรือไม่ ถ้าไม่ได้รับก็จะต้องส่งไปใหม่ ก็จะคล้ายกับการส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนGetRight เป็นซอร์ฟแวร์ที่ทำงานร่วมกับบราวเซอร์ โดยทำหน้าที่แทนไดอะล๊อกบ๊อกซ์การดาวน์โหลดของบราวเซอร์ซึ่งจะทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการดาวน์โหลดไฟล์โดยใช้บราวเซอร์WebNFS สามารถจำลองดิสก์ของระบบ Unix ของระบบ Unix ให้เครือข่ายเข้ามาเรียกใช้ข้อมูล หรือส่งงานมาพิมพ์ และในทางกลับกันก็ขอใช้ไฟล์หรือส่งงานไปพิมพ์ที่เซิร์ฟเวอร์อื่นในเครือข่ายได้ด้วย โดยขยายให้สามารถแชร์ไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ตได้

ไม่มีความคิดเห็น: